ความสำคัญของป่าต้นน้ำ
ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่สำคัญที่ช่วยซับน้ำ และชะลอน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว ป่าต้นน้ำเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ และยังช่วยป้องกันการเกิดน้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ตอนล่างอีกด้วย

พื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าต้นน้ำแควน้อยถูกทำลายสภาพความเป็นป่าไม้มาไม่น้อยกว่า 30 ปี
ปัจจุบันพื้นที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่น้ำแควน้อย ได้ถูกทำลายสภาพความเป็นป่ามาไม้น้อยกว่า 30 ปี มีผลทำให้สภาพพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำแควน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 200,000 ไร่ มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี

ชาวบ้านที่ทำเกษตรกรรมในพื้นที่ต้นน้ำ อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนใหญ่ปลูกพืชหมุนเวียน และมีรายได้ไม่แน่นอน

เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง หน่อไม้ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาผันแปรตามความต้องการของตลาดทำให้เกษตรกรเหล่านี้มีรายได้ที่ไม่แน่นอน และยังไม่มีหน่วยงานใดของรัฐเข้าไปช่วยเหลือให้การสนับสนุนแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านส่วนหนึ่งในชุมชนดังกล่าว เริ่มมีการบุกรุกเข้าไปทำเกษตรกรรมในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การถางไม้ทำลายป่า และทำลายระบบนิเวศน์อีกด้วย

(1) ฟื้นฟูป่า
พัฒนาป่าชุมชนที่ยั่งยืน
เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นป่ามาก่อน ให้กลับคืนความเป็นป่า ด้วยการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นการพัฒนาป่าที่ชุมชนเป็นผู้ฟื้นฟูและ ดูแลรักษาป่า โดยที่ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า CARBON CREDITS ป่ายังช่วยลดภาวะโลกร้อน เพราะป่าเป็นตัวช่วยดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และยังสามารถนำ คาร์บอนเครดิตขายให้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้อีกด้วย

รักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำแควน้อย
แม่น้ำแควน้อยเป็นลุ่มน้ำสาขาย่อยฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน มีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก สภาพพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำแควน้อย เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ราษฎรส่วนใหญ่ 80% เป็นเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำ

การฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำแควน้อย จะช่วยรักษาแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในลุ่มน้ำแควน้อย

นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอุทกภัย โดยเฉพาะในเขตอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มักเกิด ปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี

(2) พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรและรักษาสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งที่การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยเน้นที่การปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาระบบนิเวศการเกษตร

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีราคาดีกว่าสินค้าเกษตรเคมี และตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 20% โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ
พื้นที่อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่สูงส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตร ภูมิประเทศเหมาะแก่ การปลูกต้นซิลเวอร์โอ๊คและต้นกาแฟอราบิก้า ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาดี กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และมีเสถียรภาพทางราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากข้อจำกัดของภูมิประเทศ ทำให้มีพื้นที่จำกัดที่สามารถปลูกพืชดังกล่าวได้