ซิลเวอร์โอ๊ค เป็นไม้ยืนต้นไม้ผลัดใบ ใบเขียวตลอดปี เจริญเติบโตเร็วมาก ความสูงต้นอยู่ที่ 18-35 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 1 เมตร ขนาดใบ ยาว 15-30 เซนติเมตร ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ไม้ประดับ หรือไม้ใช้สอยหรือเป็นแนวรั้วได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพพื้นที่ เพราะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพดินและมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ระยะปลูกที่เหมาะสม อยู่ที่ 3x3 เมตร หรือ 3.5x3.5 เมตร, 6x6 เมตร หรือ 12x12 เมตร สามารถใช้ประโยชน์ได้เมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป

ต้นซิลเวอร์โอ๊ค ต้นไม้ทำเงิน พร้อมลดโลกร้อน
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม และเป็นที่น่ายินดีที่ธรรมชาติเองได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือในการปกป้องสิ่งแวดล้อมนี้ โดยคณะนักวิจัยจากห้องทดลอง Tree Ring สาขาวิชาวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรี ค้นพบว่าต้นไม้ที่เติบโตในระบบนิเวศน้ำจืด เช่น บริเวณ แม่น้ำ ลำธาร สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนได้ไว้ในลำต้นได้นานถึงสองพันปี เมื่อเทียบกับต้นไม้ที่เจริญเติบโตในป่าทั่วๆไป

“ต้นไม้ที่เจริญเติบโตในป่าชายน้ำจะสามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ประมาณ 2,000 ปีโดยเฉลี่ย ในขณะที่ต้นไม้ที่เจริญเติบโตในป่าทั่วไปในป่านั้น จำนวนปีจะอยู่ที่ 20ปี และจะเหลือเพียงอายุแค่ปีเดียว ไม้นั้นจะถูกนำมาทำเป็นฟืน” ริชาร์ด กิวเยตต์ผู้อำนวยการห้องทดลอง Tree Ring และอาจารย์สาขาวิชาวนศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ วิทยาลัยการเกษตร อาหาร และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมิสซูรี วิทยาลัย ได้กล่าวไว้

ทางคณะวิจัยได้ศึกษาวิจัยต้นไม้ในตอนเหนือของรัฐมิสซูรี ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเอกลักษณ์และมีป่าชายน้ำ (ป่าไม้ริมฝั่งลำธาร) ที่อุดมสมบูรณ์ และมีการค้นพบต้นโอ๊คเก่าแก่ ซึ่งบางต้นมีอายุถึง 14,000 ปี ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการค้นพบต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก กระบวนการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้เหล่านี้ดำเนินมาตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยต้นไม้นั้นมีความสามารถสูงในการกักเก็บคาร์บอนในขณะมีชีวิตอยู่ แต่คาร์บอนนี้จะถูกปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศเมื่อล้มตายและค่อยๆ ถูกย่อยสลายไป การค้นพบนี้ทำให้รู้ถึงความสามารถในการชะลอการเกิดวัฎจักรคาร์บอน อันเป็นผลมาจากป่าชายน้ำ “คาร์บอนส่งผลกระทบสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของอากาศเป็นอย่างมาก และข้อมูลที่ทำให้เรารู้ว่าสารคาร์บอนนี้จะไปอยู่ไหน จะเป็นสิ่งสำคัญมากในอนาคต” ไมเคิล ซี แสตมบอห์ หนึ่งในนักวิจัยกล่าว “เป้าหมายเราอยู่ที่การเพิ่มองค์ความรู้ในด้านวัฏจักรคาร์บอน โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนคาร์บอนระหว่างชั้นบรรยากาศกับส่วนของพื้นผิวโลก”

การค้นพบดังกล่าวนี้อาจสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของที่ดิน แม้ว่าการค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก (Emission Trade หรือ Cap and Trade) ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในอเมริกาเหนือ แต่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในยุโรปและเอเชีย การค้าขายดังกล่าวเป็นแรงจูงใจในทางการเงินให้องค์กรที่สนใจปล่อยมลพิษน้อยลง โดยการจำกัดปริมาณสารก่อมลภาวะที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ หากองค์กรที่เข้าร่วมองค์กรใดต้องการปล่อยสารก่อมลภาวะเกินกำหนด จะต้องทำการซื้อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่องค์กรอื่นลดได้หรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) มาคาร์บอนเครดิต 1 หน่วย มีค่าเท่ากัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ในปริมาณ 1 เมตริกตัน วิธีการซื้อคาร์บอนเครดิตสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ปลูกต้นไม้ใหม่ จัดเก็บก๊าซมีเธนจากแหล่งกำจัดขยะ หรือแม้กระทั่งซื้อมาจากองค์กรอื่นๆ เป็นต้น “เกษตรกรขายคาร์บอนเครดิตด้วยการกักเก็บคาร์บอนด้วยต้นไม้ที่ตัวเองปลูก” นายกิวเยตต์ทิ้งท้าย “บริษัทที่ปล่อยมลพิษเกินจำนวนที่กำหนดไว้ก็ยินดีที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตเหล่านี้เพื่อไปหักล้างจำนวนที่ปล่อยเกินจำนวนที่กำหนดไว้ได้”

ต้นซิลเวอร์โอ๊คไม่ได้เป็นเพียงแค่ต้นไม้ที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถช่วยให้เจ้าของที่ดินที่มีต้นโอ๊ค สามารถสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


งานปลูกต้นไม้เป็นเหมือนงานสร้างชีวิตสำหรับเราทุกคน
เรานำไปใช้ 1 ต้น เราต้องปลูกเพิ่ม 2 ต้น
เราต้องคิดว่า เราไม่ได้ปลูกเพื่อตัวเราเอง แต่เราปลูกเพื่อลูกหลานของเรา
.